ทำความเข้าใจกับ Early Decision และ Early Action ในการสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในอเมริกา

19/01/20244 minute read
ทำความเข้าใจกับ Early Decision และ Early Action ในการสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในอเมริกา

กระบวนการสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกา อาจเป็นเรื่องที่ทำให้นักเรียนมัธยมในไทยรู้สึกตื่นเต้นและสับสนในเวลาเดียวกันเพราะตัวเลือกและรอบการสมัครที่หลากหลาย การทำความเข้าใจกลยุทธ์การสมัครจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง คำศัพท์ที่มักจะพบบ่อยสำหรับการสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในอเมริกาคือรอบการสมัคร Early Decision (ED) และการสมัคร Early Action (EA) ซึ่งสองคำดังกล่าวเป็นรอบการสมัครก่อนรอบทั่วไปที่เปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้แสดงความประสงค์ที่ชัดเจนและมุ่งมั่นโดยตรงกับมหาวิทยาลัยที่สนใจเป็นพิเศษ ซึ่งรอบการสมัครนี้มีอัตราการได้รับการตอบรับมากกว่ารอบทั่วไป บทความนี้จะช่วยทำให้ทุกท่านเข้าใจความได้เปรียบ ความเสี่ยง และความแตกต่าง ของรอบการสมัคร ED และ EA มากขึ้น

Early Decision (ED)

รอบการสมัคร ED เป็นกระบวนการสมัครที่มีผลผูกมัด ซึ่งกำหนดให้ผู้สมัครต้องเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ เท่านั้นหากได้รับการตอบรับ โดยนักเรียนที่มีความประสงค์จะสมัครในรอบนี้ ต้องส่งใบสมัครประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน และจะได้รับผลการพิจารณารับเข้าเรียนในช่วงเดือนธันวาคม หากผู้สมัครได้รับการตอบรับแล้ว จะต้องถอนใบสมัครที่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ เว้นแต่ว่าผู้สมัครจะเจอปัญหาหรือสถานการณ์ไม่คาดคิดในภายหลัง เช่น ปัญหาทางการเงิน

ตัวเลือกการสมัครรอบ ED เหมาะสำหรับนักเรียนที่มีและทราบมหาวิทยาลัยเป้าหมายชัดเจนและมีความมั่นใจในการตัดสินใจของตนเอง ตัวเลือกนี้จึงเป็นโอกาสกับผู้สมัครในการแสดงให้มหาวิทยาลัยเห็นถึงความตั้งใจในการเข้าศึกษาที่สถาบันนั้น ๆ เนื่องจากมหาวิทยาลัยจะพิจารณาผู้สมัคร ED ว่าเป็นผู้สมัครที่มีแรงจูงใจและความมุ่งมั่นตั้งใจสูง

Early Action (EA)

การสมัคร EA จะตรงข้ามกับการสมัครแบบ ED โดยที่ EA จะเป็นตัวเลือกที่ไม่มีผลผูกมัด ซึ่งทำให้นักเรียนสามารถสมัครมหาวิทยาลัยได้ล่วงหน้า โดยปกติการรับสมัครรอบ EA จะสิ้นสุดภายในเดือนพฤศจิกายน และประกาศผลการพิจารณารับเข้าเรียนภายในเดือนธันวาคมหรือมกราคม นักเรียนที่ได้รับการรับเข้าในรอบ Early Action ไม่จำเป็นต้องยืนยันเข้าเรียนในทันที แต่สามารถรอตัดสินใจได้จนถึงรอบการสมัครปกติ

ตัวเลือกการสมัคร EA เป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับนักเรียนที่ต้องการมีผลการตอบรับจากมหาวิทยาลัยล่วงหน้า โดยไร้ข้อผูกมัดใด ๆ อีกทั้งตัวเลือกนี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถพิจารณาข้อเสนอการตอบรับจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่นการช่วยเหลือทางการเงินของมหาวิทยาลัยแต่ละที่ก่อนตัดสินใจ

นักเรียนไทยส่วนมากจะสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่รอบ Early Action หรือ Early Decision เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับตอบรับจากมหาวิทยาลัยตั้งแต่ก่อนการสมัครในรอบปกติคล้ายกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่มีการเสนอตัวเลือก อย่าง รับตรง หรือ Early Direct Admissions ให้นักเรียนสามารถเน้นไปที่มหาวิทยาลัยที่ต้องการและสมัครเข้าล่วงหน้าได้

ตัวอย่างอัตราการรับรอบ Early Decision (ED) และ Early Action (EA)

Ivy Tables Thความแตกต่าง

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่าง ED และ EA คือผลผูกมัดต่อมหาวิทยาลัยที่สมัคร โดย ED จะเป็นการสมัครที่หากได้รับการตอบรับจะไม่สามารถเลือกมหาวิทยาลัยอื่นได้อีก ในขณะที่ EA จะไม่มีผลผูกมัดใด ๆ ซึ่งช่วยให้นักเรียนมีอิสระและเวลาในการพิจารณาข้อเสนอต่าง ๆ จากมหาวิทยาลัย มากขึ้นจนถึงการรับสมัครในรอบปกติ

ข้อควรพิจารณาและข้อแนะนำ

ค้นคว้าข้อมูลและไตร่ตรอง: ทำความเข้าใจนโยบาย ข้อดี และข้อเสียของการสมัครทั้งแบบ ED และ EA ของทุกมหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงความชอบต่าง ๆ เป้าหมาย และความมุ่งมั่นของตัวเองเพื่อทำความเข้าใจว่าตัวเลือกใดสอดคล้องกับความต้องการของเรามากที่สุด

เพราะเวลาคือโอกาส: การสมัครแบบ ED และ EA จะเปิดและปิดรับสมัครเร็วกว่ารอบปกติ ดังนั้นนักเรียนควรวางแผนและเตรียมเอกสารการสมัครไว้ให้พร้อมล่วงหน้า การส่งใบสมัครก่อนจะแสดงถึงความทุ่มเทและความคิดริเริ่มที่มากกว่า

หาคำปรึกษาและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ: ขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาฝ่ายแนะแนวในโรงเรียน หรือครูผู้สอน เพื่อให้ได้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจมากที่สุด หรือจะลองพูดคุยเกี่ยวกับทางเลือกต่าง ๆ และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับกับผู้ที่เคยผ่านกระบวนการสมัครหรือมีประสบการณ์ในด้านการรับเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

โดยสรุปแล้วการทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง Early Decision และ Early Action อย่างละเอียดมีผลต่อการรับเข้าเรียนจากมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก ทั้งสองรอบการสมัครมีทั้งข้อได้เปรียบและความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและความมุ่งมั่นของตัวเราเอง เพราะท้ายที่สุดแล้วการออกแบบกลยุทธ์การสมัครที่เหมาะสม จำเป็นจะต้องคิดให้สอดคล้องกับแรงบันดาลใจด้านวิชาการ ความเป็นตัวของตัวเอง และสถานะทางการเงินเช่นกัน

อัตราการตอบรับของนักเรียน Crimson ในมหาวิทยาลัย Ivy league

Ivy Tables Admissions
สำหรับ Crimson เราอยากแนะนำให้นักเรียนสมัครในรอบ Early Decision (ED) หรือ Early Action (EA) หากใบสมัครและโปรไฟล์ของนักเรียนพร้อมเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับการตอบรับให้ได้มากที่สุด ทีมที่มีความเชี่ยวชาญของเราจะทำงานร่วมกับนักเรียนและผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาความสามารถและศักยภาพของนักเรียนในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านของวิชาการ กิจกรรมนอกหลักสูตร หรือการเขียนเรียงความ ให้ไปในทิศทางที่มหาวิทยาลัยชั้นนำมองหา ด้วยความพยายามของตัวนักเรียนเองและของทีมงานคุณภาพจาก Crimson เราสามารถช่วยเพิ่มอัตราการตอบรับเข้าเรียนให้กับนักเรียนได้สูงที่สุดถึง 4.5 เท่า เมื่อเทียบกับอัตราการรับสมัครทั่วไป

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการที่ปรึกษาการเตรียมสมัครเข้ามหาวิทยาลัยระดับโลกของเรา หรือจองเวลาเข้ารับคำปรึกษาฟรีกับผู้เชี่ยวชาญได้ที่นี่: https://www.crimsoneducation.org/th/campaign/book-a-consultation-with-strategist/